วิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
ในสมัยแรก ๆ อินเตอร์เน็ตได้ถูกใช้ในหมู่นักวิจัยเท่านั้น การใช้งานค่อนข้างยาก ต้องพิมพ์คำสั่งยาว ๆ ไม่มีรูปภาพสวยงามเหมือนในปัจจุบัน บริการที่นิยมใช้กันในสมัยนั้นได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิคส์ (Email) แหล่งพูดคุย (IRC , USENET) การเข้าใช้เครื่องที่อยู่ระยะไกล (Telnet) การใช้งานฐานข้อมูลระยะไกล (WAIS , Archie) และ Veronica และใช้ในการส่งไฟล์ระหว่างหน่วยงานรัฐ บริษัท และมหาวิทยาลัย (FTP และ Gopher)
อินเตอร์เน็ตยุคใหม่ ที่มีรูปภาพสวยงามและใช้งานง่าย เพิ่งกำเนิดขึ้นมาในปี 2534 นี้เอง บริการแรกที่ถูกเปลี่ยนมาใช้ในแบบนี้ คือ WWW (World Wide Web) ซึ่งได้กลายมาเป็นบริการหลักของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน
ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
โครงสร้างของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (พ.ย. 2545) ปัจจุบันประกอบด้วย ISP 18 ราย และผู้ให้บริการแบบไม่หวังผลกำไรอีก 4 ราย แต่มีรูปแบบช่องรับ/ส่งสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ISP ทุกราย (ทั้งเชิงพาณิชย์และไม่หวังผลกำไร) จะต้องเช่าช่องสัญญาณจากจากผู้ให้บริการวงจรสื่อสารอีกต่อหนึ่ง โดยแบ่งเป็น
ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ - ISP สามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจาก ทศท., กสท., TelecomAsia, DataNet โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ กสท.
ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ - ISP จะต้องผ่าน กสท. เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่ให้อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูลเข้า-ออกของไทย โดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)
บริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เนต
เครือ ข่าย อินเตอร์ เนต เป็น เครือ ข่าย ที่ มี การ เชื่อม โยง กัน ไป ทั่ว โลก ใน แต่ ละ เครือ ข่าย ก็ จ ะมี เครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ ทำหน้า ที่ เป็น ผู้ ให้ บริการ ซึ่ง เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ โฮสต์ (host) เชื่อม ต่อ อยู่ เป็น จำนวน มาก ระบบ คอมพิวเตอร์ เหล่า นี้ จะ ให้ บริการ ต่าง ๆ แล้ว แต่ ลักษณะ และ จุด ประสงค์ ที่เจ้า ของ เครือ ข่ายนั้น หรือ เจ้า ของ ระบบ คอมพิวเตอร์ นั้น ตั้ง ขึ้น ในอดีต มัก มี เฉพาะ บริการ เรื่อง ข้อมูล ข่าวสาร และ โปรแกรม ที่ใช้ ใน แวดวง การ ศึกษา วิจัย เป็น หลัก แต่ ปัจจุบัน ก็ ได้ ขยาย เข้า สู่ เรื่อง ของ การ ค้า และ ธุรกิจ แทบ จะ ทุก ด้าน บริการ ต่าง ๆบน อินเตอร์เนต อาจ แบ่ง ได้ เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ดังนี้
1. บริการด้านการสื่อสาร
·
ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ผู้ใช้ บริการ สามารถ ติด ต่อ รับ-ส่ง ไปรษณีย์ อิเล็ก ทรอนิกส์ หรือ E-mail กับ ผู้ ใช้อินเตอร์ เนต ทั่ว โลก กว่า 20 ล้าน คน ได้ โดย ไม่ ต้อง เสียค่า ใช้ จ่าย เพิ่ม เติม และ ยัง สะดวก รวดเร็ว ทันใจ ด้วย
·
สนทนาแบบออนไลน์ ผู้ใช้ บริการ สามารถ คุย โต้ตอบ กับ ผู้ใช้ คน อื่น ๆ ใน อินเตอร์ เนต ได้ ในเวลา เดียว กัน (โดย การ พิมพ์ ทาง คีย์ บอร์ด) ซึ่ง ก็ สนุก และ รวด เร็ว ดี บริการ สนทนา แบบ ออนไลน์ นี้ เรียก ว่า Talk เนื่อง จาก ใช้ โปร แกรม ที่ชื่อ ว่า Talk ติดต่อ กัน หรือ จะ คุย กัน เป็น กลุ่ม หลาย ๆ คน ใน ลักษณะ ของ Chat (Internet Relay Chat หรือ IRC) ก็ได้
2. บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ
1. อินเตอร์เนต World Wide Web เป็น บริการ ที่ แพร่ หลาย และ ขยาย ตัวเร็ว ที่สุด บน เรา สามารถ ที่ จะ ไป ดู ข้อ มูล ต่าง ๆ ได้ ทั่ว โลก เช่น ข้อ มูล ทาง วิทยาศาสตร์, ธุรกิจ, การ ศึกษา, มหาวิทยาลัย, โรงเรียน ต่าง ๆ ภาพยนตร์ ดนตรี และ อื่นๆ อีก มากมาย ซึ่ง ปัจจุบัน มีการ ผนวก รูปภาพ , เสียง , ภาพ เคลื่อนไหว ที่ เรา เรียกว่า เป็น แบบ มัลติมีเดีย ได้ และ สามารถ เชื่อม โยง ไป ยัง เอกสาร หรือ ข้อมูล อื่นๆ ได้โดยตรง
2. Gopher เป็น บริการ ค้นหา ข้อมูล แบบ ตาม ลำดับ ขั้น ซึ่ง มี เมนู ให้ ใช้ งาน ได้ สะดวก ลักษณะ การ ใช้งาน จะ คล้าย คลึงกับ ส่วนของ World Wide Web โดย ผู้ ใช้ สามารถ เลือก เข้า ไปดู ตาม หัว ข้อ ที่ มี อยู่ ลึก ลง ไป ได้ อีก แต่ ข้อมูล ส่วน ใหญ่ จะ เป็นใน เชิง วิทยาศาสตร์ และ การ วิจัย
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต |
|
ในยุคที่โลกของการสื่อสารมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ประกอบกับความต้องการเข้าถึงข้อมูลของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มและตอบสนองความต้องการใช้ชีวิตให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น วันนี้เราขอแนะนำเทคโนโลยีที่ช่วยรองรับการใช้อินเทอร์เน็ตในรูปแบบ Streaming
Nexus 7000 เป็น platform switch layer 3 แบบ Module รุ่นล่าสุดจาก Cisco ที่รองรับการขยายงานสำหรับเครือข่ายอีเธอร์เน็ตขนาด 10 กิกะบิตในปริมาณอินเทอร์เฟสจำนวนมาก ด้วยระบบโครงสร้างในการเชื่อมต่อสูงสุด 15 เทราบิตต่อวินาทีในแชสซีเดียวกัน และยังสามารถรองรับการเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตได้ 40 กิกะบิตต่อวินาทีและสูงสุดถึง 100 กิกะบิตต่อวินาทีสำหรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
โดยวันนี้ทรู อินเทอร์เน็ต ได้ทำการติดตั้ง Nexus 7000 เสร็จสิ้นแล้วเป็นรายแรกในเอเชีย ซึ่งจะทำหน้าที่เป็น Core Network ที่จะมาช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตที่ปัจจุบันกลุ่มทรูเป็นผู้นำ เนื่องจากเห็นว่าปริมาณความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯและต่างจังหวัด มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้งานในรูปแบบ streaming ทั้งการดูหนัง ฟังเพลง หรือการดาวน์โหลดข้อมูลแบบ real time ซึ่งอินเทอร์เน็ตจะต้องเร็วและมีความเสถียรที่สูง ดังนั้นการติดตั้ง Nexus 7000 ในครั้งนี้จะช่วยให้ลูกค้าของทรู อินเทอร์เน็ต สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างคล่องตัวและมีความเสถียรมากยิ่งขึ้น จึงสบายใจได้ว่าไม่ว่าช่วงเวลาไหน คุณจะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างไม่มีวันสะดุด
ด้วยองค์ประกอบสำคัญของ Nexus 7000 ก็คือซอฟต์แวร์ NX-OS ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานกับระบบ switch layer 2, Protocol routing layer 3 รวมไปถึงเทคโนโลยีเสมือนจริง (virtualization) ขั้นสูงบนระบบปฎิบัติการที่มีเสถียรภาพ โดยมีคุณสมบัติใหม่ๆที่เพิ่มเติมเข้ามา อาทิ สามารถทำการ upgrade ได้โดยไม่ทำให้บริการหยุดชะงัก รองรับแอพพลิเคชั่นใหม่ๆที่เกิดขึ้นในอนาคตรวมไปถึงความสามารถ context อุปกรณ์แบบ virtual ที่ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกได้โดยแบ่งส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ (Hardward ) เป็น 4 ยุคด้วยกัน
- ยุคที่ 1 (1951-1958)
ก่อนหน้าปี 1951 เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีใช้เฉพาะนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และทหารเท่านั้น จนกระทั่งผู้สร้าง ENIAC คือ Mauchly และ Eckert ได้จัดตั้งบริษัทเพื่อทำตลาดเชิงพาณิชย์ของเครื่องรุ่นถัดมาของพวกเขา คือเครื่อง UNIVAC ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะมี หลอดสูญญากาศ และ ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) เป็นส่วนประกอบสำคัญ แต่หลอดสุญญากาศจะมีไม่น่าเชื่อถือสูง เป็นเหตุให้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทำให้เครื่องในยุคนั้นสามารถทำ งานได้ ส่วนดรัมแม่เหล็กถูกใช้เป็นหน่วยความจำหลัก (primary memory) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมากในยุคแรกนี้ ส่วนหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ซึ่งใช้เก็บทั้งข้อมูลและคำสั่งโปรแกรมในยุคนี้จะอยู่ในบัตรเจารู จนปลายยุคนี้เทปแม่เหล็กจึงได้ถูกนำมาใช้เป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรอง
ภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จะอยู่ใน รูปของภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขฐาน 2 ทั้งสิ้น ทำให้ผู้ที่จะสามารถโปรแกรมให้เครื่องทำงานได้ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
เครื่อง UNIVAC
ยุคที่ 2 (1959-1964)
การพัฒนาที่สำคัญที่สุดที่แบ่งแยกยุคนี้ออกจากยุคแรก คือการแทนที่หลอดสูญญากาศด้วยทรานซิสเตอร์ (transistor) หน่วยความจำพื้นฐานก็ได้มีการพัฒนามาเป็น magnetic core รวมทั้งมีการใช้ magnetic disk ซึ่งเป็นหน่วยบันทึกข้อมูลสำรองที่มีความเร็วสูงขึ้น นอกจากนี้ ส่วนประกอบที่คอมพิวเตอร์ได้ถูกรวบรวมเข้าไว้ใน แผ่นวงจรพิมพ์ลาย (printed circuit boards) ซึ่งง่ายต่อการเปลี่ยนและมีการสร้างโปรแกรมวิเคราะห์เพื่อหาส่วนผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว
ภาษาโปรแกรมระดับสูง เช่น FORTRAN และ COBOL ได้ถูกใช้ในการโปรแกรมสำหรับยุคนี้ โปรแกรมเมอร์สามารถใช้งานภาษาเหล่านี้ได้สะดวกกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 เนื่องจากมีไวยากรณ์ที่คล้ายคลืงกับภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ดี เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้แต่เฉพาะกับภาษาเครื่อง ทำให้ต้องใช้โปรแกรมตัวอื่น คือ compiler และ interpreter ในการแปลงภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ในยุคที่ 2 เริ่มมีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันโดยผ่านสายโทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะติดสื่อสารกันได้ช้ามากก็ตาม ปัญหาในยุคนี้คืออุปกรณ์รับข้อมูลและอุปกรณ์แสดงผลทำงานได้ช้ามาก ทำให้คอมพิวเตอร์ต้องรอการรับข้อมูลหรือการแสดงผลบ่อย ๆ ซึ่ง Dr.Daniel Slotnick ได้ทำการพัฒนาเพิ่มเติม โดยใช้หลักการของการประมวลผลแบบขนานกัน นอกจากนั้ยังมีกลุ่มคณาจารย์และนักเรียกจาก Massachusetts Instiute of Technoligy พัฒนาระบบ มัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ซึ่งเป็นการจัดสรรให้คอมพิวเตอร์ทำงานหลายโปรแกรมพร้อม ๆ กนได้ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลารอหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลอีกต่อไป
ในยุคที่ 3 เป็นยุคของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ที่มีการเติบโตมาก ได้มีการนำ แผงวงจรรวม (IC หรือ integrated circuits) ซึ่ง ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์และวงจรไฟฟ้าที่รวอยู่บนแผ่นซิลิกอนเล็ก ๆ มาแทนการประกอบแผ่นวงจรพิมพ์ลาย ทำให้เวลาการทำงานขิงคอมพิวเตอร์ลดลงอยู่ในหน่วยหนึ่งส่วนพันล้านวินาที นอกจากนี้ มินิคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.1965 คือเครื่อง PDP-8 ของ Digital Equipment Corportion (DEC) ซึ่งต่อมาก็มีการใช้มินิคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์กันอย่าง แผร่หลาย รวมทั้งมีการใช้งาน เทอร์มินัล (terminal) ซึ่งเป็นจอคอมพิวเตอร์ผ่านทาง คีย์บอร์ด (keyboard) ทำให้การป้อนข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมกระทำได้สะดวกขึ้น
แผงวงจรรวมเปรียเทียบกันทรานซิสเตอร์และหลอดสูญญากาศ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น